การประกันภัย คือ การบริหารความเสี่ยงภัยวิธีหนึ่ง ซึ่งจะโอนความเสี่ยงภัยของผู้เอาประกันภัยไปสู่บริษัทประกันภัย เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องเสียเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้
 
 
 
การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง (Marine Insurance) หมายถึง การประกันความเสียหายแก่เรือและทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล และยังขยายขอบเขตความคุ้มครองไปถึงการขนส่งสินค้าทางอากาศและทางบก ซึ่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเลด้วย การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง สามาถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
 
Marine Cargo Insurance คือ การประกันเพื่อคุ้มครองสินค้าหรือทรัพย์สินที่ขนส่งระหว่างประเทศ จากผู้ขายในประเทศหนึ่ง ไปยังผู้ซื้อในอีกประเทศหนึ่ง โดยทางเรือเดินสมุทร เครื่องบินพาณิชย์ หรือทางพัสดุไปรษณีย์ จากอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น เรือถูกไฟไหม้ เรือคว่ำ เรือจม ความเสียหายจากการขนถ่ายสินค้าขึ้นหรือขนลงจากเรือ จนทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวสินค้า
 
Inland Transit Insurance คือ การประกันภัยการขนส่งภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศยาน รับประกันภัยสินค้าหรือทรัพย์สินในระหว่างการขนส่งจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง โดยยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง คือ รถบรรทุก 6 ล้อ, รถบรรทุก 10 ล้อ, รถเทรลเลอร์ เรือฉลอม เรือโป๊ะ และเครื่องบินพาณิชย์
 
Marine Hull Insurance คือ การประกันภัยตัวเรือ ประกันภัยคุ้มครองความสูญเสีย หรือเสียหายของโครงสร้างตัวเรือ รวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทไม่มีเครื่องจักร ส่วนที่เป็นโครงสร้างของเรือ รวมถึงอุปกรณ์บนเรือ และสัมภาระต่างๆ และประเภทที่สอง คือ ประเภทที่มีเครื่องจักรหรือกำลังขับเคลื่อนเอง คือ ส่วนที่ให้พลังงานการเดินเรือ ทำความร้อน ทำความเย็น
 
 
  สำหรับการประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลนั้น มีแนวทางในการขอเอาประกันภัย ดังนี้  
 
 
ควรเลือกเงื่อนไขความคุ้มครองให้เหมาะสมกับประเภทของสินค้า กล่าวคือ สินค้าโดยทั่วๆไป ที่มีการบรรจุหีบห่อ เงื่อนไขความคุ้มครองมักใช้เงื่อนไขแบบมาตรฐานที่เรียกว่า Institute Cargo Clauses ซึ่งมีให้เลือก 3 เงื่อนไขด้วยกัน คือ
 
เงื่อนไข CLAUSES “A” สำหรับการคุ้มครองที่กว้างที่สุด
 
เงื่อนไข CLAUSES “B” สำหรับการคุ้มครองอุบัติเหตุที่ร้ายแรง เช่น รถคว่ำ เรือชนกัน เกยตื้นไฟไหม้ รวมถึงความเสียหายจากการเปียกน้ำด้วย
 
เงื่อนไข CLAUSES “C” คุ้มครองเฉพาะอุบัติเหตุที่ร้ายแรงเท่านั้น
 
 
 
ควรระบุให้กรมธรรม์มีผลคุ้มครองตลอดเส้นทางของการขนส่ง เช่น คลังสินค้าของผู้ซื้อสินค้า สมมติว่า ตั้งอยู่ในเชียงใหม่ สินค้านำเข้ามาจากฮ่องกง ซึ่งเรือสินค้าจะต้องเข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพฯ ก่อนขนส่งต่อภายในประเทศไปยังจังหวัดเชียงใหม่ จึงควรระบุในกรมธรรม์ให้ความคุ้มครอง เริ่มจากฮ่องกงผ่านกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ (From Hongkong via Bangkok to Chiengmai)
 
 
 
ควรพิจารณาดูว่าสัญญาซื้อขายเป็นเงื่อนไขแบบใด ถ้าเป็นสัญญาซื้อขายแบบ CIF ในกรณีที่เป็นสินค้าส่งออก จะต้องตรวจดูเงื่อนไขของ L/C ที่ผู้ซื้อสินค้าระบุมาว่า ให้ใช้เงื่อนไขความคุ้มครองแบบใด ถ้าผู้ซื้อระบุการคุ้มครองที่กว้างกว่าประเพณีนิยมของการซื้อขายชนิดนั้น ผู้ซื้อมีหน้าที่รับภาระค่าเบี้ยประกันภัยส่วนที่เพิ่มขึ้นจากปกติ
 
 
 
  การเริ่มต้นและสิ้นสุดความคุ้มครอง  
 
 
จุดเริ่มต้นความคุ้มครอง กรมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล มีผลคุ้มครองเมื่อสินค้าที่เอาประกันภัยออกจากคลังสินค้าหรือสถานที่เก็บสินค้า ณ สถานที่ระบุชื่อในกรมธรรม์เมื่อเริ่มต้นการขนส่ง โดยไม่รวมช่วงการขนของขึ้นรถ เพราะถือว่าสินค้ายังไม่ได้ออกจากโรงเก็บสินค้าต้นทางที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์
 
Steklean Tailiang Chemical Piyasiri Wanit Kongsawan Chemical

หน้าหลัก | พิธีการศุลกากร | คลังสินค้า | แท็งค์ของเหลว | รถบรรทุก | ค่าระวาง | เคาน์เตอร์ เซอร์วิส | ท่าเรือ | เกี่ยวกับเรา | สมัครงาน | ติดต่อเรา | ถาม-ตอบ

กลุ่มบริษัทในเครือ : สเตคลีน | ไต๋เหลียง เคมีภัณฑ์ | ปิยะศิริวานิช | คงสวรรณ เคมีภัณฑ์