ในตลาดการประกันภัยทางทะเลและขนส่งประเทศไทย เงื่อนไขความคุ้มครองที่ผู้รับประกันภัยส่วนใหญ่จัดให้แก่ผู้เอาประกันภัย มักจะยึดถือตามเงื่อนไขความคุ้มครองที่ใช้กันในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นเงื่อนไขความคุ้มครองที่จัดทำขึ้นโดยกลุ่มผู้รับประกันภัย อันได้แก่ The Institute of London Underwriters, the Liverpool Underwriters Association และ Lloyds Underwriters Association เงื่อนไขความคุ้มครองที่จัดทำโดยกลุ่มผู้รับประกันภัยดังกล่าวข้างต้น จะขึ้นด้วยคำว่า ‘Institute’ ซึ่งเป็นที่รู้จักแลยอมรับกันในวงการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ธนาคาร หรือตัวแทนในการพิจารณาค่าสินไหมทดแทนในการประกันภัย ขนส่งสินค้าทางทะเล โดยทั่วไป มีชุดเงื่อนไขความคุ้มครอง 3 ชุดที่เป็นที่นิยมกัน ซึ่งได้กำหนด ขอบเขตความเสี่ยงภัยที่คุ้มครอง ลดหลั่นตามลำดับ ดังนี้
 
 
 
1. Institute Cargo Clauses (A) ระบุภัยที่คุ้มครองไว้ดังนี้ : This insurance covers all risksof loss of or damage to the subject-matter insured, except as provided in Clauses 4, 5, 6 and 7 below. คำว่า All Risks หมายถึง การเสี่ยงภัยทุกชนิด (ที่ไม่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และสืบเนื่องจากสาเหตุภายนอก) ที่อาจยังความสูญเสีย หรือเสียหายต่อสินค้าที่เอาประกันภัยในระหว่างช่วงระยะของการประกันภัย ภายใต้กรมธรรม์ที่คุ้มครอง All Risks ผู้เอาประกันภัยจะต้องแสดงให้เห็นว่าเกิดความสูญเสียหรือความเสียหายจริง ซึ่งความสูญเสียนั้นเป็นเหตุบังเอิญ (Fortuity) ที่เกิดขึ้นและเป็นสาเหตุโดยตรง (Proximately) ต่อความสูญเสีย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องมี่ส่วนได้เสีย จึงจะมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ส่วนผู้รับประกันภัยจะต้องพิสูจน์ว่าความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดขึ้นมีสาเหตุหรือสืบเนื่องจากภัยที่ถูกระบุยกเว้นไว้
 
 
 
2. Institute Cargo Clauses (B) ให้ความคุ้มครองแตกต่างจาก Institute Cargo Clauses (A) คือ ICC (A) ระบุให้คุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่มีสาเหตุจากภายนอก พร้อมกับกำหนดยกเว้นภัยบางประเภทไว้เท่านั้น แต่ ICC (B) ระบุภัยที่คุ้มครองและสิ่งที่ยกเว้นความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจน ความสูญเสียหรือเสียหายอันเนื่องจาก หรือมีสาเหตุจากภัยที่ไม่ได้ระบุไว้ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง นอกจากนั้น ICC (B) ยังได้แยก ความคุ้มครองออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
 
คุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหาย ซึ่งมีผลสืบเนื่องจากภัยที่ระบุไว้ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสาเหตุที่เป็น ตัวการที่ทำให้เกิดความเสียหายภัยที่คุ้มครอง ได้แก่ อัคคีภัยหรือการระเบิด / เรือ หรือยวดยานประสบเหตุเกยตื้น เกยพื้น จม หรือพลิกคว่ำ / การคว่ำหรือตกรางของยานพาหนะทางบก / การชนหรือการโดนกันของเรือ ยวดยาน หรือยานพาหนะกับวัตถุภายนอกใดๆก็ตาม / การขนถ่ายสินค้าลงที่ท่าใช้หลบภัย / แผ่นดินไหว การระเบิดของภูเขาไฟ หรือฟ้าผ่า
 
ความสูญเสียหรือเสียหายจะต้องมีสาเหตุโดยตรงจากภัยที่ระบุไว้ ได้แก่ การถูกสละไปอันถือได้ว่าเป็นการสูญเสียเพื่อส่วนรวม / การถูกทิ้งทะเลหรือการถูกน้ำซัดตกจากเรือไป / การที่น้ำทะเล น้ำทะเลสาบ หรือน้ำในแม่น้ำเข้ามาในระวางเรือ หรือยวดยาน หรือเข้ามาในตู้ ลำเลียง
ตู้ยก หรือสถานที่เก็บวางสินค้า
 
ความสูญเสียโดยสิ้นเชิงของหีบห่อใด ซึ่งตกจากเรือ หรือตกลงมาในขณะขนขึ้น หรือขนลงจากเรือ หรือยวดยาน
 
 
 
Institute Cargo Clauses (C) ให้ความคุ้มครองแตกต่างจาก ICC (A) เช่นเดียวกับ ICC (B) คือ ระบุภัยที่คุ้มครองและสิ่งที่ยกเว้นความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจน ความสูญเสียหรือเสียหาย อันสืบเนื่องจากหรือมีสาเหตุจากภัยที่ไม่ได้ระบุไว้จะไม่ได้รับความคุ้มครอง แต่ ICC (C) ให้ความคุ้มครองที่แคบกว่า ICC (B) โดยแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
 
คุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหาย ซึ่งมีผลสืบเนื่องจากภัยที่ระบุไว้ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสาเหตุที่เป็นตัวการที่ทำให้เกิดความเสียหายภัยที่คุ้มครอง ได้แก่ อัคคีภัยหรือการระเบิด / เรือหรือยวดยานประสบเหตุเกยตื้น เกยพื้น จม หรือพลิกคว่ำ / การคว่ำหรือตกรางของยานพาหนะทางบก / การชนหรือการโดนกันของเรือ ยวดยาน หรือยานพาหนะกับวัตถุภายนอกใดๆก็ตามนอกเหนือจากกับน้ำ
 
ความสูญเสียหรือเสียหาย จะต้องมีสาเหตุโดยตรงจากภัยที่ระบุไว้ ได้แก่ การถูกสละไปอันถือได้ว่าเป็นการสูญเสียเพื่อส่วนรวม (General Average Sacrifice) / การถูกทิ้งทะเล
 
Steklean Tailiang Chemical Piyasiri Wanit Kongsawan Chemical

หน้าหลัก | พิธีการศุลกากร | คลังสินค้า | แท็งค์ของเหลว | รถบรรทุก | ค่าระวาง | เคาน์เตอร์ เซอร์วิส | ท่าเรือ | เกี่ยวกับเรา | สมัครงาน | ติดต่อเรา | ถาม-ตอบ

กลุ่มบริษัทในเครือ : สเตคลีน | ไต๋เหลียง เคมีภัณฑ์ | ปิยะศิริวานิช | คงสวรรณ เคมีภัณฑ์